การแข่งขันในเชิงศิลปะ มวยไทย กระบี่กระบอง หรือ อาวุธอื่น ๆ ที่มีมาแต่ โบราณนั้น ก่อนการแข่งขัน ทุกคนจะต้องไหว้ครู ถ้าเป็นนักมวยไทย ก่อนการแข่งขันชกมวยไทย จะต้องไหว้ครู มวยไทย และร่ายรำ มวยไทย ซึ่งเป็นประเพณี ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนการ ร่ายรำ มวยไทย เป็นการแสดงออกถึง ลักษณะเฉพาะของครู มวยไทย หรือค่ายมวยไทย ซึ่งถ้านักมวยไทยไหว้ครูและร่ายรำ มวยไทย แบบเดียวกันมักจะไม่นิยมต่อยกัน เพราะเข้าใจ ว่าเป็นลูกศิษย์ที่มีครูมวย คนเดียวกัน นอกจากนั้น การร่ายรำ มวยไทย ยังเป็นการสังเกตุ ดูเชิงคู่ปรปักษ์ และเพื่ออบอุ่นร่างกาย ให้คลายความเคร่งเครียด ทั้งกายและจิตใจ ให้พร้อมที่จะเข้าต่อสู้ได
ไหว้ครูและร่ายรำ คือ กราบสามครั้ง เพื่อระลึกถึง บิดา มารดา ครูอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ ตลอดจนขอคุณพระศรีรัตนตรัย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วยคุ้มครอง และขอให้ได้ชัยชนะด้วยความปลอดภัยในที่สุดแล้วจึงร่ายรำไปรอบ ๆ เวทีตามแบบ ฉบับของครูที่ได้สอนไว้ให้
นักมาวทุกคนจะสวม “มงคล” ที่ศรีษะมงคลนี้ทำด้วยด้ายดิบหลายเส้นรวมกันแล้วพันหุ้มด้วยผ้าโตขนาดนิ้วมือทำเป็น รูปบ่วงเพื่อสวมศีรษะ การสวมมงคลไว้ก่อนแข่งขันนี้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งครูอาจารย์ได้ทำพิธีปลุกเสก และให้ความเป็นสิริมงคลไว้แก่ตน ฉะนั้นนักมวยจะสวมมงคลไว้ตลอดเวลาที่ทำการไหว้ครูและร่ายรำ และจะถอดออกจากศีรษะได้ในเมื่อจะเริ่มการแข่งขัน
ในระหว่างการไหว้ครูและร่ายรำนั้นจะมีดนตรีบรรเลงประกอบตามทำนอง ของดนตรีไทยเป็นจังหวะช้า ๆ เครื่องดนตรีเหล่านั้นได้แก่ ปี่ชวา กลองแขก 2 และฉิ่ง 1 เมื่อถอดมงคลแล้วกรรมการผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยทั้งสองมาจับมือกัน ซึ่งเป็นการแสดงถึงการมีน้ำใจเป็นนักกีฬาพร้อมกันนั้นก็จะตักเตือนกติกาสำคัญ ๆ อันเกี่ยวกับการแข่งขันให้นักมวยทั้งสองได้ทราบ
ครั้นเมื่อการต่อสู้ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังแล้วดนตรีบรรเลงในทำนองเร่งเร้าให้นักมวยทั้งสองเกิดความ รู้สึกฮึกเหิมและมุ่งเข้าต่อสู้กันอย่างดุเดือด การร่ายรำและการต่อสู้โดยมีดนตรีประกอบนั้น นอกจากจะถือว่าเป็นศิลปะแล้ว ยังเป็นประเพณีอันดีงามของ ชาวไทยมาแต่โบราณกาล จนไม่อาจจะทิ้งให้สูญหายไปเสียได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น