มนัส บุญจำนงค์ เป็นนักชกมวยสากลสมัครเล่นเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก จากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่ประเทศกรีซ นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 ที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิก และเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นคนที่ 3 ต่อจากสมรักษ์ คำสิงห์ และวิจารณ์ พลฤทธิ์
มนัสได้เหรียญทองจากกีฬาโอลิมปิก 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ 1 เหรียญทอง และซีเกมส์ 2 เหรียญทอง และหนึ่งเหรียญทองแดงจากการแข่งขัน มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพในปี 2546
มนัส บุญจำนงค์ มีชื่อเล่นว่า "เติ้ล" เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ที่จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายมโนและนางมาลี บุญจำนงค์ มีน้องชายอีก 2 คนคือ มานนท์ (นน บุญจำนงค์) และ พันธนินทร์ ทั้งสามพี่น้องหัดชกมวยมาตั้งแต่สมัยเด็ก
มีภรรยาคือนางพจนีย์ บุญจำนงค์ (เกตุสวัสดิ์)และมีบุตรด้วยกัน 3 คน ภายหลังจากได้เหรียญทองโอลิมปิกปี 2004 มนัสได้มีปัญหากับภรรยา และแยกทางกันเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 หลังจากแยกทางกับนางพจนีย์แล้ว ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นางพจนีย์ก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งมนัส ยอมรับกับผู้สื่อข่าวว่า บุตรที่เกิดมาภายหลังนี้เป็นบุตรที่เกิดจากตนเช่นกัน จากการที่มักมีปัญหาเรื่องผู้หญิงและครอบครัวแบบนี้ซึ่งส่งผลกระทบถึงการชกมวย จึงทำให้สื่อมวลชนให้ฉายามนัสว่า "เพลย์บอยกลับใจ" ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีการอนุมัติให้มนัสเข้าบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจเนื่องจากสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ โดยจะให้ได้รับยศตามวุฒิการศึกษา
มนัสลงแข่งขันในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท (64 กิโลกรัม) ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ เส้นทางสู่เหรียญทองของมนัสคือ
รอบ 8 คนสุดท้าย: 22 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะวิลลี เบรน จากฝรั่งเศส 20-8 หมัด
รอบรองชนะเลิศ: 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะไอโอนัท จอร์จี นักชกโรมาเนีย
รอบชิงชนะเลิศ: 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะยูได เซเดอโน่ จอห์นสัน จากคิวบา 17-11 หมัด [4]
มนัสเป็นคนไทยคนที่สามที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ โดยก่อนหน้า อุดมพร พลศักดิ์ และ ปวีณา ทองสุก นักยกน้ำหนักหญิงทีมชาติไทยได้คว้าเหรียญทองไปแล้ว
หลังจากมนัสได้เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ ก็ประสบปัญหาครอบครัวและติดการพนัน ทำให้ไม่เข้าซ้อมชกมวยบ่อยครั้ง ก่อนจะกลับตัวได้และลงแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยเอาชนะชิน เมียง ฮุน จากเกาหลีใต้ 22-11 หมัด ในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นได้ส่งมนัสเดินทางไปเก็บตัวที่ประเทศคิวบาเพียงคนเดียวนานถึง 3 เดือน กับโค้ช ฮวน ฟอนตาเนียล ซึ่งก็ทำให้มนัสได้เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นไทยเพียงคนเดียวที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันครั้งนี้
มนัสกลับมาแข่งขันโอลิมปิกเป็นครั้งที่สอง ในรุ่นเดิม โดยเส้นทางการชกเป็นดังนี้
รอบ 16 คนสุดท้าย (14 สิงหาคม พ.ศ. 2551): ชนะ มาซาซึกุ คาวาชิ
รอบ 8 คนสุดท้าย (17 สิงหาคม พ.ศ. 2551): ชนะ เซริค ซาพิเยฟ
รอบรองชนะเลิศ (22 สิงหาคม พ.ศ. 2551): ชนะ โรเนียล อิกเลเซียส
รอบชิงชนะเลิศ (23 สิงหาคม พ.ศ. 2551): แพ้ เฟลิกซ์ ดิแอซ
ได้เหรียญเงินมาครอง
มนัสเป็นนักกีฬาไทยคนแรก ที่สามารถคว้าเหรียญจากการแข่งขันโอลิมปิกสองสมัยติดต่อกัน
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554
เช ยอง ซอก โค้ชยอดเยี่ยมสยามกีฬาอวอร์ด ปั้นนักกีฬาคือหน้าที่โค้ช สมาคมอื่น...ต้องจำ
เช ยอง ซอก ชื่อนี้กลายเป็นบุคคลสำคัญในวงการกีฬาไทยไปแล้ว! รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม สยามกีฬา อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5 ถือเป็นการย้ำความเป็นโค้ชกีฬาไทยที่ดีที่สุดในเมืองไทยของยุคนี้
คนไทยทั้งประเทศให้การยอมรับโค้ชเชว่าเป็นสุดยอดผู้ฝึกสอนต่างชาติที่นำความภาคภูมิใจมาสู่แดนสยามเมืองยิ้ม ที่พาทัพจอมเตะคว้าความสำเร็จได้จากทุกเวทีระดับนานาชาติ
อะไรทำให้กีฬาเทควันโดประสบความสำเร็จมากที่สุด จนกลายเป็นกีฬาชั้นนำระดับแถวหน้าของเมืองไทย?
ส่วนหนึ่งในความยิ่งใหญ่ของเทควันโด คือ มร.เช ยอง ซอก ผู้ที่สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการโดยไม่หยุดยั้ง ซึ่งสิ่งสำคัญที่กีฬาชนิดอื่นๆ แทบไม่เคยมี คือการให้สิทธิ์ทำทีมอย่างเต็มที่แก่ผู้ฝึกสอน สามารถลงดาบหรือเลือกตัวนักกีฬาได้อย่างใจที่โค้ชต้องการ ไม่ใช่มีแต่เด็กฝาก หรือเด็กข้าใครอย่าเตะ เหมือนที่หลายสมาคมกีฬาเกิดขึ้น
อำนาจเด็ดขาดที่โค้ชเชสามารถทำได้ตั้งแต่คัดเลือกตัวนักกีฬา ควบคุมการฝึกซ้อม ไปจนถึงการสอนในระหว่างแข่งขัน คือจุดสำคัญที่ทำให้นักกีฬาเชื่อมั่นในตัวโค้ช เชื่อฟังในทุกคำสอนที่เชถ่ายทอดวิทยายุทธ์ให้ แม้แต่การลงโทษ โค้ชจอมเฮี้ยบแดนโสมจัดว่าดุพอสมควร ทำให้นักกีฬาเชื่อฟังทุกคนทั้งในสนามแข่งขันและนอกสนามแข่งขัน เรียกว่าแค่เชชำเลืองสายตาไปมอง จอมเตะต่างผวากันเป็นแถว ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬาที่เก่งกาจขนาดไหน มีชื่อเสียงโด่งดังแค่ไหน อยู่ในทีมชาติทุกอย่างต้องเท่ากัน ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์
แม้แต่ ''วิว'' เยาวภา บุรพลชัย ฮีโร่เหรียญทองแดงโอลิมปิกเกมส์ 2004 เหรียญแรกในประวัติศาสตร์ หรือจะเป็น ''น้องสอง'' บุตรี เผือดผ่อง เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิกเกมส์ 2008, ''แม็ก'' ชัชวาล ขาวละออ เจ้าของเหรียญทองเอเชียนเกมส์ และคนอื่นๆ ไม่มีใครสามารถเลือกที่จะลงแข่งขันรายการไหนก็ได้ เพราะโค้ชเชจะดูว่าใครพร้อมที่จะลงแข่งขันรายการใด
คำว่าระเบียบวินัย คือสิ่งที่เชสอนให้นักกีฬาทุกคนมี และสิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่หลายชนิดกีฬาขาดหายไป ซึ่งเมื่อนักกีฬาขาดระเบียบวินัย หรือโค้ชไม่มีอำนาจสั่งการ ปล่อยให้ผู้บริหารสมาคมที่รู้แค่เพียงการบริหารงาน แต่ไม่รู้ลึกซึ้งเท่าโค้ชได้มีสิทธิ์เหนือโค้ช บ่อยครั้งที่ความสำเร็จไม่เกิดขึ้นในกีฬาชนิดนั้นๆ
แต่ถ้าโค้ชมีบารมีสอนให้นักกีฬาเชื่อฟัง มีระเบียบวินัย แต่ขาดกึ๋น กีฬาชนิดนั้นๆ ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ซึ่งคำว่า ''เก่ง'' ไม่ได้เกิดขึ้นกับโค้ชที่ขยันเสมอไป แต่มันเป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวคนคนนั้นมา ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ และเมื่อบารมี บวกกึ๋นอยู่ด้วยกัน...คงไม่ต้องเดา เพราะความสำเร็จจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหมือนดัง โค้ช เช ยอง ซอก ที่มีทั้ง 2 สิ่ง บวกแรงสนับสนุนจากผู้บริหารสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย ทำให้ทัพจอมเตะไทยสร้างความยิ่งใหญ่จนถึงทุกวันนี้
หากสมาคมกีฬาในเมืองไทยให้สิทธิ์ผู้ฝึกสอนทำทีมได้เต็มที่เหมือนที่โค้ชเชได้โอกาส เชื่อเหลือเกินว่ากีฬาไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
เราลองมารู้จักโค้ชเชว่า เขาเป็นใครมาจากไหน ทำไมถึงทำเทควันโดไทยได้ยอดเยี่ยมก้าวขึ้นไปอยู่ระดับแถวหน้าของโลก และเป็นขวัญใจชาวไทยไปแล้ว
เช ยอง ซอก เกิดที่เมืองซองนัม ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 อายุ 36 ปี มีพี่สาว 1 คน อายุมากกว่า 3 ปี อยู่ที่เกาหลี ฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน เพราะพ่อเสียชีวิตตั้งแต่เชอายุได้ 7 ขวบ ต้องอยู่กับแม่และยายมาตลอด ซึ่งแม่ต้องทำงานวันละ 2 แห่ง ตอนเช้าทำงานในโรงอาหาร ตอนเย็นเป็นแม่บ้าน รายได้ไม่พอจุนเจือครอบครัวสักเท่าไหร่ อยากกินอะไรได้แค่นึก จะไม่เคยสมหวังสักเท่าไหร่ เรียกว่าจนมาก ในทุกเดือน คุณยายกับเชต้องไปเข้าแถวขอรับข้าวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ทางจังหวัดแจกให้ทุกเดือน ซึ่งทางรัฐบาลเกาหลีเขาจะเช็กทุกเดือนว่าประชาชนครอบครัวไหนฐานะยากจนจะได้รับการช่วยเหลือด้านข้าวสาร
ผู้ฝึกสอนเทควันโดไทยเลือดอารีดัง ตอนเด็กไม่ได้ชื่นชอบกีฬาเทควันโดสักเท่าไหร่ จะให้ความสนใจกีฬาเบสบอล เรียกได้ว่าหลงใหลถึงขนาดบอกให้แม่ซื้อชุดเบสบอลปักชื่อเชด้านหลัง เพื่อให้ดูโก้เก๋ ซึ่งพอแม่จัดให้ชุดตัวโปรด ทำเอาเชใส่เดินอวดไปทั่วหมู่บ้าน แต่มันเป็นเวลาแค่เพียงปีเศษที่ได้หลงใหลกับชุดเก่ง และกีฬาที่ชื่นชอบ พออายุ 11 ปี เช ยอง ซอก ได้รู้จักเทควันโด กีฬาประจำชาติเกาหลีที่อยู่ในสายเลือดชาวกิมจิทุกคน โดยมีเพื่อนพาไปชมการฝึกซ้อมที่ยิมฯ และอยากเก่งเหมือนเพื่อน พร้อมกับได้รับโปรโมชั่นจากเจ้าของค่ายที่ยากจะปฏิเสธ คือเรียนฟรี 1 เดือน ตั้งแต่วันแรกที่เชฝึกซ้อมตลอด 30 วัน เขาไม่เคยขาดหรือสายเลยแม้แต่วันเดียวจนฝีมือพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้น 1 เดือน หมดเวลาโปรโมชั่นแล้ว ถ้าคิดจะเรียนต่อต้องเสียเงิน เดือนละ 30,000 วอน หรือคิดเป็นเงินไทย 1,000 บาท ทำเอาหนุ่มน้อยเชคิดหนัก ก่อนที่จะตัดสินใจไปบอกแม่ ทั้งที่รู้ว่ากว่าแม่จะหาเงินมาได้แต่ละวอน เหนื่อยแทบขาดใจ แต่ด้วยความเป็นเด็กอายุแค่ 12 ปี จึงกล้าที่จะบอกแม่ และความรักที่มีให้ต่อลูกทำให้ยอดคุณแม่ต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นอีกเพื่อหาเงินมาให้ค่าเล่าเรียนเทควันโดลูก และนี่คือจุดเริ่มต้นของกีฬาเทควันโดยอดโค้ช เช ยอง ซอก ทำให้ก้าวไปสู่เยาวชนทีมชาติเกาหลี คว้าความสำเร็จในการเป็นนักกีฬามาอย่างมากมาย จวบจนมาติดทีมชาติชุดใหญ่ สามารถคว้าเหรียญทอง ม.โลก ที่ประเทศญี่ปุ่นได้
จากนั้นชีวิตเชหักเหไปเป็นผู้ฝึกสอน ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีสามารถก้าวไปเป็นสตาฟฟ์โค้ชทีมชาติได้ ก่อนที่จะได้รับการทาบทามไปเป็นโค้ชทีมชาติบาห์เรน ทำทีมได้ 1 ปี เจอแต่นักกีฬาลูกคุณหนูมาฝึกซ้อม ต้องนั่งรถหรูมีคนขับรถมาส่ง จะบังคับให้ซ้อมตามโปรแกรมที่ตัวเองสอนก็ไม่ได้ ผลงานจอมเตะจากแดนอาหรับไม่ดี ส่งให้เชต้องคิดใหม่ทำใหม่ ในเมื่อตัวเองไม่มีโอกาสได้ทำทีมอย่างที่วางไว้ มัวแต่จะเอาเงินเดือน เดือนละหลายแสนบาทก็ไม่มีความสุข และเป็นจังหวะเดียวที่ช่วงนั้นเชได้รับข่าวร้าย คุณแม่เสียชีวิต ทำให้ต้องเดินทางมาจัดงานศพให้คุณแม่
ช่วงนั้นเชเสียใจมาก ถึงขนาดไม่อยากทำอะไรเลย สิ่งที่ฝันคือการเป็นโค้ชทีมชาติในต่างแดน สร้างนักกีฬาที่เก่งที่สุดในโลกหยุดนิ่ง เหลือเพียงแค่เป็นอาจารย์สอนในเมืองบ้านเกิดเท่านั้น จึงต้องยกเลิกสัญญากับบาห์เรน แต่เหมือนสวรรค์ลิขิต ขีดเขียนเส้นทางให้เดิน ''บิ๊กชา'' ปรีชา ต่อตระกูล เลขาธิการสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย ในยุค ''บิ๊กหอย'' ธวัชชัย สัจจกุล เป็นนายกสมาคมฯ อยากได้โค้ชแดนโสมมาทำทีมชาติ จึงไปทาบทามสหพันธ์เทควันโดแห่งเอเชีย ซึ่งได้ติดต่อไปถึง เช ยอง ซอก โดยตอนแรกเชตอบปฏิเสธต่อคนที่มาเจรจาไปทันที แต่พอมาได้คิดคำพูดของตัวเอง ที่เคยบอกแม่ไว้ว่า ''ผมจะไปสร้างนักกีฬาที่เก่งในต่างประเทศเพื่อชื่อเสียงของกีฬาเทควันโดเกาหลีใต้'' ทำให้เชเปลี่ยนใจในวันต่อมา จนเป็นที่มาของประวัติศาสตร์เทควันโดไทยมาอย่างต่อเนื่องตลอด 9 ปีกว่า
ไม่ว่าจะเป็นเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 ที่เมืองบูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ที่คว้ามาได้ 2 เหรียญเงิน เวทีแจ้งเกิด ''วิว'' เยาวภา บุรพลชัย กับ ''จิ๊บ'' ชลนภัส เปรมแหวว ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นธัญนันท์ต่อมาอีก 2 ปี ''น้องวิว'' โด่งดังเปรี้ยงปร้างเป็นพลุแตกจาก เหรียญทองแดงประวัติศาสตร์เทควันโดโอลิมปิกเกมส์ 2004 ต่อมาในปี 2006 จอมเตะไทยทำสถิติได้อีกครั้งในศึกเยาวชนชิงแชมป์โลก กับการแจ้งเกิดของ ''สอง'' บุตรี เผือดผ่อง และ 'ไอร์''เป็นเอก การะเกตุ ผู้คว้าแชมป์เยาวชนโลกที่ประเทศเวียดนาม 2549 แถมในเดือนธันวาฯ ปีเดียวกัน เอเชียนเกมส์ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ นักเทควันโดแดนสยามขยับเหรียญเงินเพิ่มเป็น 3 เหรียญ จากบูซาน 2 ได้เพิ่มมาอีก 1 เงิน
ทุกรายการที่ไทยส่งจอมเตะเข้าแข่งขัน จะต้องคว้าความสำเร็จมาตลอด แชมป์เวิลด์คัพ มาจนแชมป์เอเชีย ไม่นับกีฬาซีเกมส์ที่โกยเหรียญเป็นว่าเล่นตั้งแต่ที่โคราช จนถึงเวียงจันทน์เกมส์ จวบจนโอลิมปิกเกมส์ 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศ จีน ''น้องสอง'' เพิ่มความยิ่งใหญ่ให้เทควันโดไทย ด้วยการคว้าเหรียญเงิน สร้างตำนานหน้าใหม่ได้อย่างยอดเยี่ยม และมาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ''กว่างโจวเกมส์'' ที่ประเทศจีน ทัพจอมเตะไทยได้สร้างประวัติศาสตร์ขึ้นอีกครั้ง ด้วยการคว้าเหรียญทองอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน จาก ''หยิน'' สริตา ผ่องศรี ฮีโร่เหรียญทองแรกของทัพนักกีฬาไทย ก่อนที่ ''เจ้าแม็ก'' ชัชวาล ขาวละออ จะเก็บทองปิดท้ายให้ทีมเทควันโดสยาม แถมยังมีของชำร่วยเพิ่มมาอีก 2 เงิน 4 ทองแดง
หัวใจของเชถึงแม้จะเป็นชาวเกาหลี แต่เมื่อเขาสวมชุดฟอร์มที่ติดธงไตรรงค์ไทย เขาจะนึกเสมอว่า เขาคือโค้ชทีมชาติไทย เป็นคนไทยคนหนึ่งที่จะนำนักกีฬาไทยไปทำชื่อเสียงให้คนทั้งโลกได้ประจักษ์ หลายครั้งที่เชต้องฟาดฟันกับคนเกาหลีด้วยกันเอง เพื่อปกป้องนักกีฬาไทย จนบางครั้งถึงขนาดต้องถูกตำรวจเชิญตัวออกจากสนามแข่งขัน แต่เขาก็ต้องทำหน้าที่การเป็นโค้ชให้ดีที่สุด ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่เชทำ ถูกถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์มาให้คนไทยได้ชมกันทั่วประเทศ ทำให้ชาวไทยมีความสุขทุกครั้ง ต่างยกให้ เช ยอง ซอก เป็นฮีโร่นำความสำเร็จมาสู่แดนสยาม จนกระแสเชฟีเวอร์ตามสื่อต่างๆ กลายเป็นขวัญใจประชาชน ไปที่ไหนจะต้องมีคนมาขอถ่ายรูป โด่งดังไม่แพ้ดาราระดับซูเปอร์สตาร์เลยทีเดียว
เรียกว่าคนไทยให้ความรักต่อเชอย่างมากจนทำให้โค้ชเลือดโสมขาวเกิดความรู้สึกผูกพันกับคนไทยจนอยากเป็นพลเมืองไทย จึงประกาศขอสัญชาติไทย ทำเอากระแสเชพุ่งเป็นพลุแตก ชาวไทยทุกคนอยากให้เชเป็นคนไทย ทำให้มีการโพสต์ข้อความในเว็บไซต์ต่างๆ เชียร์การขอสัญชาติไทยของเชให้ประสบผลสำเร็จเร็วๆ
ในความสำเร็จช่วงปีที่ผ่านมา ถือว่า เช ยอง ซอก เป็นโค้ชที่โดดเด่นที่สุดในเมืองไทย ควรค่าต่อรางวัลสยามกีฬา อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5 ที่ได้รับ และถือเป็นครั้งที่ 2 ที่เชได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมแห่งปี ซึ่งถือเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
"ผมขอขอบคุณสยามกีฬาที่มอบรางวัลนี้ให้กับผม ครั้งแรกที่ผมได้รับ ถ้วยรางวัลยังคงเก็บไว้ในตู้โชว์ ซึ่งผมเห็นทุกครั้งรู้สึกดี จนมาครั้งนี้ได้อีกครั้งยิ่งดีใจมาก ต่อไปผมจะต้องเดินต่อเพื่อนำเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ 2012 มาให้คนไทย ผมรักนักกีฬา ผมรักคนไทยทุกคนครับ'' นี่คือคำพูดที่ออกจากปาก เช ยอง ซอก ทุกคำไม่มีการแต่งเติม ถึงแม้จะไม่ยืดยาว แต่ได้ใจความ และชายคนนี้ได้สอนอะไรผู้บริหารสมาคมกีฬาต่างๆ ให้ได้รู้จักคำว่า ''โค้ชที่พวกคุณไว้ใจนำเข้ามาสอนนักกีฬาทีมชาติ คุณต้องปล่อยให้เขาแสดงความสามารถให้เต็มที่ มีสิทธิ์เลือกตัวนักกีฬาเอง และความสำเร็จจะเกิดขึ้นอย่างที่ผู้บริหารสมาคมตั้งใจ''
คนไทยทั้งประเทศให้การยอมรับโค้ชเชว่าเป็นสุดยอดผู้ฝึกสอนต่างชาติที่นำความภาคภูมิใจมาสู่แดนสยามเมืองยิ้ม ที่พาทัพจอมเตะคว้าความสำเร็จได้จากทุกเวทีระดับนานาชาติ
อะไรทำให้กีฬาเทควันโดประสบความสำเร็จมากที่สุด จนกลายเป็นกีฬาชั้นนำระดับแถวหน้าของเมืองไทย?
ส่วนหนึ่งในความยิ่งใหญ่ของเทควันโด คือ มร.เช ยอง ซอก ผู้ที่สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการโดยไม่หยุดยั้ง ซึ่งสิ่งสำคัญที่กีฬาชนิดอื่นๆ แทบไม่เคยมี คือการให้สิทธิ์ทำทีมอย่างเต็มที่แก่ผู้ฝึกสอน สามารถลงดาบหรือเลือกตัวนักกีฬาได้อย่างใจที่โค้ชต้องการ ไม่ใช่มีแต่เด็กฝาก หรือเด็กข้าใครอย่าเตะ เหมือนที่หลายสมาคมกีฬาเกิดขึ้น
อำนาจเด็ดขาดที่โค้ชเชสามารถทำได้ตั้งแต่คัดเลือกตัวนักกีฬา ควบคุมการฝึกซ้อม ไปจนถึงการสอนในระหว่างแข่งขัน คือจุดสำคัญที่ทำให้นักกีฬาเชื่อมั่นในตัวโค้ช เชื่อฟังในทุกคำสอนที่เชถ่ายทอดวิทยายุทธ์ให้ แม้แต่การลงโทษ โค้ชจอมเฮี้ยบแดนโสมจัดว่าดุพอสมควร ทำให้นักกีฬาเชื่อฟังทุกคนทั้งในสนามแข่งขันและนอกสนามแข่งขัน เรียกว่าแค่เชชำเลืองสายตาไปมอง จอมเตะต่างผวากันเป็นแถว ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬาที่เก่งกาจขนาดไหน มีชื่อเสียงโด่งดังแค่ไหน อยู่ในทีมชาติทุกอย่างต้องเท่ากัน ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์
แม้แต่ ''วิว'' เยาวภา บุรพลชัย ฮีโร่เหรียญทองแดงโอลิมปิกเกมส์ 2004 เหรียญแรกในประวัติศาสตร์ หรือจะเป็น ''น้องสอง'' บุตรี เผือดผ่อง เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิกเกมส์ 2008, ''แม็ก'' ชัชวาล ขาวละออ เจ้าของเหรียญทองเอเชียนเกมส์ และคนอื่นๆ ไม่มีใครสามารถเลือกที่จะลงแข่งขันรายการไหนก็ได้ เพราะโค้ชเชจะดูว่าใครพร้อมที่จะลงแข่งขันรายการใด
คำว่าระเบียบวินัย คือสิ่งที่เชสอนให้นักกีฬาทุกคนมี และสิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่หลายชนิดกีฬาขาดหายไป ซึ่งเมื่อนักกีฬาขาดระเบียบวินัย หรือโค้ชไม่มีอำนาจสั่งการ ปล่อยให้ผู้บริหารสมาคมที่รู้แค่เพียงการบริหารงาน แต่ไม่รู้ลึกซึ้งเท่าโค้ชได้มีสิทธิ์เหนือโค้ช บ่อยครั้งที่ความสำเร็จไม่เกิดขึ้นในกีฬาชนิดนั้นๆ
แต่ถ้าโค้ชมีบารมีสอนให้นักกีฬาเชื่อฟัง มีระเบียบวินัย แต่ขาดกึ๋น กีฬาชนิดนั้นๆ ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ซึ่งคำว่า ''เก่ง'' ไม่ได้เกิดขึ้นกับโค้ชที่ขยันเสมอไป แต่มันเป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวคนคนนั้นมา ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ และเมื่อบารมี บวกกึ๋นอยู่ด้วยกัน...คงไม่ต้องเดา เพราะความสำเร็จจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหมือนดัง โค้ช เช ยอง ซอก ที่มีทั้ง 2 สิ่ง บวกแรงสนับสนุนจากผู้บริหารสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย ทำให้ทัพจอมเตะไทยสร้างความยิ่งใหญ่จนถึงทุกวันนี้
หากสมาคมกีฬาในเมืองไทยให้สิทธิ์ผู้ฝึกสอนทำทีมได้เต็มที่เหมือนที่โค้ชเชได้โอกาส เชื่อเหลือเกินว่ากีฬาไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
เราลองมารู้จักโค้ชเชว่า เขาเป็นใครมาจากไหน ทำไมถึงทำเทควันโดไทยได้ยอดเยี่ยมก้าวขึ้นไปอยู่ระดับแถวหน้าของโลก และเป็นขวัญใจชาวไทยไปแล้ว
เช ยอง ซอก เกิดที่เมืองซองนัม ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 อายุ 36 ปี มีพี่สาว 1 คน อายุมากกว่า 3 ปี อยู่ที่เกาหลี ฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน เพราะพ่อเสียชีวิตตั้งแต่เชอายุได้ 7 ขวบ ต้องอยู่กับแม่และยายมาตลอด ซึ่งแม่ต้องทำงานวันละ 2 แห่ง ตอนเช้าทำงานในโรงอาหาร ตอนเย็นเป็นแม่บ้าน รายได้ไม่พอจุนเจือครอบครัวสักเท่าไหร่ อยากกินอะไรได้แค่นึก จะไม่เคยสมหวังสักเท่าไหร่ เรียกว่าจนมาก ในทุกเดือน คุณยายกับเชต้องไปเข้าแถวขอรับข้าวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ทางจังหวัดแจกให้ทุกเดือน ซึ่งทางรัฐบาลเกาหลีเขาจะเช็กทุกเดือนว่าประชาชนครอบครัวไหนฐานะยากจนจะได้รับการช่วยเหลือด้านข้าวสาร
ผู้ฝึกสอนเทควันโดไทยเลือดอารีดัง ตอนเด็กไม่ได้ชื่นชอบกีฬาเทควันโดสักเท่าไหร่ จะให้ความสนใจกีฬาเบสบอล เรียกได้ว่าหลงใหลถึงขนาดบอกให้แม่ซื้อชุดเบสบอลปักชื่อเชด้านหลัง เพื่อให้ดูโก้เก๋ ซึ่งพอแม่จัดให้ชุดตัวโปรด ทำเอาเชใส่เดินอวดไปทั่วหมู่บ้าน แต่มันเป็นเวลาแค่เพียงปีเศษที่ได้หลงใหลกับชุดเก่ง และกีฬาที่ชื่นชอบ พออายุ 11 ปี เช ยอง ซอก ได้รู้จักเทควันโด กีฬาประจำชาติเกาหลีที่อยู่ในสายเลือดชาวกิมจิทุกคน โดยมีเพื่อนพาไปชมการฝึกซ้อมที่ยิมฯ และอยากเก่งเหมือนเพื่อน พร้อมกับได้รับโปรโมชั่นจากเจ้าของค่ายที่ยากจะปฏิเสธ คือเรียนฟรี 1 เดือน ตั้งแต่วันแรกที่เชฝึกซ้อมตลอด 30 วัน เขาไม่เคยขาดหรือสายเลยแม้แต่วันเดียวจนฝีมือพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้น 1 เดือน หมดเวลาโปรโมชั่นแล้ว ถ้าคิดจะเรียนต่อต้องเสียเงิน เดือนละ 30,000 วอน หรือคิดเป็นเงินไทย 1,000 บาท ทำเอาหนุ่มน้อยเชคิดหนัก ก่อนที่จะตัดสินใจไปบอกแม่ ทั้งที่รู้ว่ากว่าแม่จะหาเงินมาได้แต่ละวอน เหนื่อยแทบขาดใจ แต่ด้วยความเป็นเด็กอายุแค่ 12 ปี จึงกล้าที่จะบอกแม่ และความรักที่มีให้ต่อลูกทำให้ยอดคุณแม่ต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นอีกเพื่อหาเงินมาให้ค่าเล่าเรียนเทควันโดลูก และนี่คือจุดเริ่มต้นของกีฬาเทควันโดยอดโค้ช เช ยอง ซอก ทำให้ก้าวไปสู่เยาวชนทีมชาติเกาหลี คว้าความสำเร็จในการเป็นนักกีฬามาอย่างมากมาย จวบจนมาติดทีมชาติชุดใหญ่ สามารถคว้าเหรียญทอง ม.โลก ที่ประเทศญี่ปุ่นได้
จากนั้นชีวิตเชหักเหไปเป็นผู้ฝึกสอน ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีสามารถก้าวไปเป็นสตาฟฟ์โค้ชทีมชาติได้ ก่อนที่จะได้รับการทาบทามไปเป็นโค้ชทีมชาติบาห์เรน ทำทีมได้ 1 ปี เจอแต่นักกีฬาลูกคุณหนูมาฝึกซ้อม ต้องนั่งรถหรูมีคนขับรถมาส่ง จะบังคับให้ซ้อมตามโปรแกรมที่ตัวเองสอนก็ไม่ได้ ผลงานจอมเตะจากแดนอาหรับไม่ดี ส่งให้เชต้องคิดใหม่ทำใหม่ ในเมื่อตัวเองไม่มีโอกาสได้ทำทีมอย่างที่วางไว้ มัวแต่จะเอาเงินเดือน เดือนละหลายแสนบาทก็ไม่มีความสุข และเป็นจังหวะเดียวที่ช่วงนั้นเชได้รับข่าวร้าย คุณแม่เสียชีวิต ทำให้ต้องเดินทางมาจัดงานศพให้คุณแม่
ช่วงนั้นเชเสียใจมาก ถึงขนาดไม่อยากทำอะไรเลย สิ่งที่ฝันคือการเป็นโค้ชทีมชาติในต่างแดน สร้างนักกีฬาที่เก่งที่สุดในโลกหยุดนิ่ง เหลือเพียงแค่เป็นอาจารย์สอนในเมืองบ้านเกิดเท่านั้น จึงต้องยกเลิกสัญญากับบาห์เรน แต่เหมือนสวรรค์ลิขิต ขีดเขียนเส้นทางให้เดิน ''บิ๊กชา'' ปรีชา ต่อตระกูล เลขาธิการสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย ในยุค ''บิ๊กหอย'' ธวัชชัย สัจจกุล เป็นนายกสมาคมฯ อยากได้โค้ชแดนโสมมาทำทีมชาติ จึงไปทาบทามสหพันธ์เทควันโดแห่งเอเชีย ซึ่งได้ติดต่อไปถึง เช ยอง ซอก โดยตอนแรกเชตอบปฏิเสธต่อคนที่มาเจรจาไปทันที แต่พอมาได้คิดคำพูดของตัวเอง ที่เคยบอกแม่ไว้ว่า ''ผมจะไปสร้างนักกีฬาที่เก่งในต่างประเทศเพื่อชื่อเสียงของกีฬาเทควันโดเกาหลีใต้'' ทำให้เชเปลี่ยนใจในวันต่อมา จนเป็นที่มาของประวัติศาสตร์เทควันโดไทยมาอย่างต่อเนื่องตลอด 9 ปีกว่า
ไม่ว่าจะเป็นเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 ที่เมืองบูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ที่คว้ามาได้ 2 เหรียญเงิน เวทีแจ้งเกิด ''วิว'' เยาวภา บุรพลชัย กับ ''จิ๊บ'' ชลนภัส เปรมแหวว ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นธัญนันท์ต่อมาอีก 2 ปี ''น้องวิว'' โด่งดังเปรี้ยงปร้างเป็นพลุแตกจาก เหรียญทองแดงประวัติศาสตร์เทควันโดโอลิมปิกเกมส์ 2004 ต่อมาในปี 2006 จอมเตะไทยทำสถิติได้อีกครั้งในศึกเยาวชนชิงแชมป์โลก กับการแจ้งเกิดของ ''สอง'' บุตรี เผือดผ่อง และ 'ไอร์''เป็นเอก การะเกตุ ผู้คว้าแชมป์เยาวชนโลกที่ประเทศเวียดนาม 2549 แถมในเดือนธันวาฯ ปีเดียวกัน เอเชียนเกมส์ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ นักเทควันโดแดนสยามขยับเหรียญเงินเพิ่มเป็น 3 เหรียญ จากบูซาน 2 ได้เพิ่มมาอีก 1 เงิน
ทุกรายการที่ไทยส่งจอมเตะเข้าแข่งขัน จะต้องคว้าความสำเร็จมาตลอด แชมป์เวิลด์คัพ มาจนแชมป์เอเชีย ไม่นับกีฬาซีเกมส์ที่โกยเหรียญเป็นว่าเล่นตั้งแต่ที่โคราช จนถึงเวียงจันทน์เกมส์ จวบจนโอลิมปิกเกมส์ 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศ จีน ''น้องสอง'' เพิ่มความยิ่งใหญ่ให้เทควันโดไทย ด้วยการคว้าเหรียญเงิน สร้างตำนานหน้าใหม่ได้อย่างยอดเยี่ยม และมาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ''กว่างโจวเกมส์'' ที่ประเทศจีน ทัพจอมเตะไทยได้สร้างประวัติศาสตร์ขึ้นอีกครั้ง ด้วยการคว้าเหรียญทองอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน จาก ''หยิน'' สริตา ผ่องศรี ฮีโร่เหรียญทองแรกของทัพนักกีฬาไทย ก่อนที่ ''เจ้าแม็ก'' ชัชวาล ขาวละออ จะเก็บทองปิดท้ายให้ทีมเทควันโดสยาม แถมยังมีของชำร่วยเพิ่มมาอีก 2 เงิน 4 ทองแดง
หัวใจของเชถึงแม้จะเป็นชาวเกาหลี แต่เมื่อเขาสวมชุดฟอร์มที่ติดธงไตรรงค์ไทย เขาจะนึกเสมอว่า เขาคือโค้ชทีมชาติไทย เป็นคนไทยคนหนึ่งที่จะนำนักกีฬาไทยไปทำชื่อเสียงให้คนทั้งโลกได้ประจักษ์ หลายครั้งที่เชต้องฟาดฟันกับคนเกาหลีด้วยกันเอง เพื่อปกป้องนักกีฬาไทย จนบางครั้งถึงขนาดต้องถูกตำรวจเชิญตัวออกจากสนามแข่งขัน แต่เขาก็ต้องทำหน้าที่การเป็นโค้ชให้ดีที่สุด ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่เชทำ ถูกถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์มาให้คนไทยได้ชมกันทั่วประเทศ ทำให้ชาวไทยมีความสุขทุกครั้ง ต่างยกให้ เช ยอง ซอก เป็นฮีโร่นำความสำเร็จมาสู่แดนสยาม จนกระแสเชฟีเวอร์ตามสื่อต่างๆ กลายเป็นขวัญใจประชาชน ไปที่ไหนจะต้องมีคนมาขอถ่ายรูป โด่งดังไม่แพ้ดาราระดับซูเปอร์สตาร์เลยทีเดียว
เรียกว่าคนไทยให้ความรักต่อเชอย่างมากจนทำให้โค้ชเลือดโสมขาวเกิดความรู้สึกผูกพันกับคนไทยจนอยากเป็นพลเมืองไทย จึงประกาศขอสัญชาติไทย ทำเอากระแสเชพุ่งเป็นพลุแตก ชาวไทยทุกคนอยากให้เชเป็นคนไทย ทำให้มีการโพสต์ข้อความในเว็บไซต์ต่างๆ เชียร์การขอสัญชาติไทยของเชให้ประสบผลสำเร็จเร็วๆ
ในความสำเร็จช่วงปีที่ผ่านมา ถือว่า เช ยอง ซอก เป็นโค้ชที่โดดเด่นที่สุดในเมืองไทย ควรค่าต่อรางวัลสยามกีฬา อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5 ที่ได้รับ และถือเป็นครั้งที่ 2 ที่เชได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมแห่งปี ซึ่งถือเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
"ผมขอขอบคุณสยามกีฬาที่มอบรางวัลนี้ให้กับผม ครั้งแรกที่ผมได้รับ ถ้วยรางวัลยังคงเก็บไว้ในตู้โชว์ ซึ่งผมเห็นทุกครั้งรู้สึกดี จนมาครั้งนี้ได้อีกครั้งยิ่งดีใจมาก ต่อไปผมจะต้องเดินต่อเพื่อนำเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ 2012 มาให้คนไทย ผมรักนักกีฬา ผมรักคนไทยทุกคนครับ'' นี่คือคำพูดที่ออกจากปาก เช ยอง ซอก ทุกคำไม่มีการแต่งเติม ถึงแม้จะไม่ยืดยาว แต่ได้ใจความ และชายคนนี้ได้สอนอะไรผู้บริหารสมาคมกีฬาต่างๆ ให้ได้รู้จักคำว่า ''โค้ชที่พวกคุณไว้ใจนำเข้ามาสอนนักกีฬาทีมชาติ คุณต้องปล่อยให้เขาแสดงความสามารถให้เต็มที่ มีสิทธิ์เลือกตัวนักกีฬาเอง และความสำเร็จจะเกิดขึ้นอย่างที่ผู้บริหารสมาคมตั้งใจ''
ตะเภาทองสับสายันต์ดิ้นล้างแค้นมวย7สี
ตะเภาทอง อีมิแน้นท์แอร์ เคยแพ้ให้กับ สายันต์น้อย 91 รุ่งโรจน์ มาแต่ไฟต์นี้มานิ่ง ต่อยเวตถนัด ดักสับศอกได้น่ากลัว และมาประสบความสำเร็จในต้นยกสาม เมื่อสับศอกซ้ายเข้าเต็มกรามส่ง สายันต์น้อย หลับกลางอากาศลงไปนอนสลบนับถึง 100 ก็ไม่ฟื้น "ตะเภาทอง" เอาชนะน็อกล้างแค้นเสร็จสรรพ ศึกมวยไทย 7 สี เมื่อวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา
ศึกมวยไทย 7 สี เวทีมวยช่อง 7 นัดวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา คู่เอก สายันต์น้อย 91รุ่งโรจน์ ขึ้นมาพบกับ ตะเภาทอง อีมิแน้นท์แอร์ ในพิกัด 125 ปอนด์ เรตเปิดใครต่อรอง โดยที่ สายันต์น้อย นั้นเคยชนะมาครั้งหนึ่ง เปิดออกมายันเสมอ ตะเภาทอง ได้ชกเวตถนัดและก็ขยับต่อ 5-4
ยกสอง สายันต์น้อย บุกปล้ำตีเข่า ตะเภาทองรับนิ่ง ไล่แขนดันออกแล้วสับศอกใส่ได้น่ากลัว หมดยก ตะเภาทองยังต่อ 5-4 ยกสาม เปิดเกมมาได้ไม่ถึงนาที ตะเภาทองก็ได้จังหวะสับศอกซ้ายเต็มกรามสายันต์น้อย หลับกลางอากาศร่วงไปให้กรรมการสับนับ และไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวดอกเดียวเลิก "ตะเภาทอง" ล้างแค้นได้สำเร็จ
คู่รอง เพชรมรกต ทีเด็ด 99 อดีตแชมเปี้ยน ดันเตะซ้ายสู้เข่า อาศัยหลักเหลี่ยมหักเล่นงานเอาชนะ เมธี ก.กัณทรารมย์ ที่เชื่องช้าแก้เกมไม่เป็นขาดลอย, วราพล ส.ศักรินทร์ แพ้คะแนน ฤทธิเดช ก.สกุลเชื้อ, แสนเก่ง พี.เค.พี.สปอร์ต โดนจับแพ้หมดทางสู้ ใจสู้ ส.คำสิงห์ ในยก 4, เพชรทองดี เกียรติทองดี แพ้คะแนน รุ่งเพชร เพชรเจริญ และ แสนเก่ง ก.สกุลเชื้อ แพ้คะแนน หาญชัย ป.รักไทย
ศึกมวยไทย 7 สี เวทีมวยช่อง 7 นัดวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา คู่เอก สายันต์น้อย 91รุ่งโรจน์ ขึ้นมาพบกับ ตะเภาทอง อีมิแน้นท์แอร์ ในพิกัด 125 ปอนด์ เรตเปิดใครต่อรอง โดยที่ สายันต์น้อย นั้นเคยชนะมาครั้งหนึ่ง เปิดออกมายันเสมอ ตะเภาทอง ได้ชกเวตถนัดและก็ขยับต่อ 5-4
ยกสอง สายันต์น้อย บุกปล้ำตีเข่า ตะเภาทองรับนิ่ง ไล่แขนดันออกแล้วสับศอกใส่ได้น่ากลัว หมดยก ตะเภาทองยังต่อ 5-4 ยกสาม เปิดเกมมาได้ไม่ถึงนาที ตะเภาทองก็ได้จังหวะสับศอกซ้ายเต็มกรามสายันต์น้อย หลับกลางอากาศร่วงไปให้กรรมการสับนับ และไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวดอกเดียวเลิก "ตะเภาทอง" ล้างแค้นได้สำเร็จ
คู่รอง เพชรมรกต ทีเด็ด 99 อดีตแชมเปี้ยน ดันเตะซ้ายสู้เข่า อาศัยหลักเหลี่ยมหักเล่นงานเอาชนะ เมธี ก.กัณทรารมย์ ที่เชื่องช้าแก้เกมไม่เป็นขาดลอย, วราพล ส.ศักรินทร์ แพ้คะแนน ฤทธิเดช ก.สกุลเชื้อ, แสนเก่ง พี.เค.พี.สปอร์ต โดนจับแพ้หมดทางสู้ ใจสู้ ส.คำสิงห์ ในยก 4, เพชรทองดี เกียรติทองดี แพ้คะแนน รุ่งเพชร เพชรเจริญ และ แสนเก่ง ก.สกุลเชื้อ แพ้คะแนน หาญชัย ป.รักไทย
เครดิต siamsport.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)