วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

Fight Club Nong-O Sit Or



Nong-O Sit Or is a Thai Muay Thai kickboxer. He is considered one of the best pound for pound Muay Thai fighters in the world

Early career
Nong-O Sit Orwas born as Arphichet Kotenan in Sakon Nakhon Province in Northeastern  region of Thailand. He had his first fight at the age of 14.

 2008

On August 3, 2008, Nong-O fought against Kōji Okuyama at Keio Plaza hotel in Hachiōji, Tokyo, and he won by KO with left elbow strike during 3rd round. December 9, 2008, he fought against Wutidet Lukprabath at Lumpinee Stadium in the memorial event of Lumpinee Stadium establishment. He won by decision after 5th round.

 2009

On January 18, 2009, Nong-O fought against Tomoaki Suehiro at Yoyogi National Gymnasium for the Muay Thai event "Muay Lok", and he won by TKO because the referee stopped the contest after he knocked down Suehiro twice with eight hook and left hook during 1st round. After the contest, he was given a a bunch of flowers by Shinya Aoki. Nong-O was going to fight against Shunta Itō in the beginning, but he was replaced because his legs had not been healed enough.
On November 8, 2009, he fought against Trijak Sitjomtrai in Japan. Trijak was the current champion at featherweight sanctioned by Professional Boxing Association of Thailand, but Nong-O won by majority decision(2-0) after 5th round.
On December 8, Nong-O fought agaisnt Petboonchu F. A. Group for his title of Lumpinee Stadium at Super featherweight(130 lbs). Nong-O won by decision and became the new champion.

 2010

On January 17, 2010, Nong-O participated the tournament of "Yod Muay Champions Cup 60kg" in Japan. He fought against Sindam Kietmukao at the first match. After 5th round, the bout was resulted draw as 1-0. Nong-O lost by the split decision after extra round (6th round). On December 9, He challenged Saenchai's titles of Lumpinee Stadium and WMC, but he lost by decision.

 2011

On January 19, 2011, Nong-O Sit Or was named 2010 boxer of the year at the Society of Friends of Sportswriters Awards Night in Bangkok.

 Titles and accomplishments

  • Muaythai
    • 2009 Lumpinee Stadium Super Featherweight (130 lbs / 59 kg) champion
    • 2006 Lumpinee Stadium Junior Featherweight (122 lbs / 46 kg) champion
    • 2 times Thailand Junior Featherweight (122 lbs / 46 kg) champion
  • Awards
    • 2010 Muaythai boxer of the year (Society of Friends of Sportswriters)
    • 2005 Muaythai boxer of the year

ชลธารต้อนแต้มปินส์ป้องแชมป์สบาย

 
 

        "หมัดสายน้ำมรณะ" ชลธาร อ.พิริยะภิญโญ ต้อนแต้ม ยามากาตะ อากูโล่ นักชกชาวฟิลิปปินส์ ขาดลอยที่อุตรดิตถ์ เมื่อ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา ก่อนที่จะก้าวไปตัดเชือกในเดือนมิถุนายนนี้เพื่อชิงแชมป์โลก WBC


     ศึกเอ็ม 150 วันทรงชัย พิชิตโลก มีขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา ที่เวทีมวยชั่วคราว สวนสาธารณะหนองพระแล เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง-ไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
 
     คู่นำรายการเป็นการป้องกันตำแหน่งแชมเปี้ยน WBC Asia รุ่นเฟเธอร์เวต 126 ปอนด์ ระหว่าง "หมัดสายน้ำมรณะ" ชลธาร อ.พิริยะภิญโญ กับ ยามากาตะ อากูโล่ ผู้ท้าชิงชาวฟิลิปปินส์
 
     เกมการชกนั้นทางชลธารต่อยแบบรัดกุม ไม่ประมาทมีจังหวะต่อย จริงๆ ถึงจะต่อยไม่มั่วทางอากูโล่ก็คอยโต้เป็นระยะๆ ชลธารจะมาเร่งในช่วง 10 วินาทีสุดท้ายรัวหมัดใส่ไม่ยั้งจนนักชกตากาล็อกออกอาการหลายครั้ง แต่ก็ไม่อาจที่จะเก็บได้ครบ 12 ยก ชลธาร ชนะคะแนนไปอย่างเป็นเอกฉันท์ ป้องกันแชมป์ไว้ได้แบบสบายๆ
 
     ทางด้านโปรโมเตอร์ ปริยากร รัตนสุบรรณ เผยว่า ชลธาร ต่อยได้ดีมากรัดกุมไม่ประมาท จะได้ชกตัดเชือกกับ จัสติน ซาวี่ นักชกชาวเบนิน ในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อหาผู้ชนะไปชิงแชมป์โลกกับ โฮสึมิ ฮาเซกาว่า แชมป์โลกรุ่นเฟเธอร์เวต wbc ชาวญี่ปุ่นแน่นอน
 
     ส่วนผลมวยคู่ประกอบรายการมีดังนี้ ไท ต.ศิลาชัย แชมเปี้ยน WBO Oriental รุ่นไลต์เวต อุ่นหมัดชนะน็อก โอโรโน่ เมืองสีมา ยก 6, ขวัญพิชิต 13 เหรียญเอ็กซ์เพรส ชั่งได้ 118 ปอนด์ เท่ากันกับ พยัคฆ์หนุ่ม ศิษย์นิวัฒน์ ยก 1

"กังฟูเส้าหลิน" เคล็ดวิชาพันปี ShoalinTemple






วัดเส้าหลิน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1038 ในสมัยของไท่เหอเจ้าผู้ครองรัฐวุ่ยเหนือ ในปี พ.ศ. 929 - พ.ศ. 1077 เนื่องจากตั้งอยู่บนยอดเขาเส้าซื่อ ทางด้านทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่เกือบทั้งหมดด้วยป่าหรือ "หลิน" ในภาษาจีนกลาง จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ วัดเส้าหลิน

ในยุคสมัยบุกเบิกยังไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง ภายหลังจากสร้างขึ้นมาได้ประมาณ 32 ปี ในปี พ.ศ. 1070 พระโพธิธรรมเถระหรือตั๊กม้อ พระภิกษุจากประเทศอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซนที่วัดเส้าหลินเป็นครั้งแรก อีกทั้งแลเห็นว่าวัดเส้าหลินอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีความสงบร่มรื่น เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมตามนัยของพุทธศาสนานิกายเซน

ปรมาจารย์ตั๊กม้อจึงเข้าพำนักและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์แรก ทำให้ชื่อเสียงของวัดเส้าหลิน อยู่ในฐานะเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายเซนในประเทศจีน กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ตั๊กม้อสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ชาวจีนเป็นอันมาก โดยเฉพาะการพัฒนาวิทยายุทธเส้าหลินให้ลึกล้ำขึ้นกว่าเดิม ถ่ายทอดธรรมะและวิชากังฟูให้แก่หลวงจีนได้ฝึกฝนเพื่อออกกำลังกายและฝึกสมาธิ

 เนื่องจากเห็นว่าหลวงจีนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถนั่งสมาธิวิปัสสนาและเจริญกรรมฐานอย่างเคร่งครัด จึงหัดให้หลวงจีนเริ่มฝึกฝนร่างกายให้แข็งแกร่งควบคู่กับการปฏิบัติธรรม

การฝึกสอนวิทยายุทธและกังฟูของตั๊กม้อ ได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นที่มาของวิทยายุทธเส้าหลินที่สง่างามและทรงพลังเช่น หมัดเส้าหลิน  หรือเพลงหมัดเส้าหลิน รวมทั้งหมด 18 กระบวนท่า อีกทั้งเป็นการปฏิรูปวิทยายุทธครั้งสำคัญเช่น การขยายท่าฝ่ามืออรหันต์จาก 18 ท่า เป็น 72 ท่า โดยเล็งเห็นว่าวิชากังฟูเส้าหลิน ควรได้รับการถ่ายทอดให้ขยายออกไป เช่นเดียวกับนิกายเซนที่ตั๊กม้อได้เดินทางมาเผยแผ่

เจตนารมณ์ของตั๊กม้อประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง ศิษย์ของตั๊กม้อเมื่อลาสิกขาออกไปจากวัดเส้าหลินแล้ว ส่วนใหญ่กลายเป็นวีรบุรุษของชาวจีนที่รู้จักกันเป็นอย่างดีเช่น งักฮุย แม้ในประเทศจีนจะมีวัดนิกายต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก

แต่เนื่องจากความเก่าแก่ประกอบกับชื่อเสียงอันโด่งดัง เลื่องลือกล่าวขานในด้านวิชากังฟูของเส้าหลิน เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลวงจีนหลาย ๆ องค์ นิยมเดินทางมาบวชเรียนเพื่อศึกษาธรรมะ กระบวนท่าวิทยายุทธและกังฟู ทำให้ชาวจีนจำนวนมากเริ่มเดินทางมาวัดเส้าหลินเพื่อฝึกฝนวิชากังฟูของตั๊กม้อ จนได้รับความนิยมอย่างมากในเวลาอันรวดเร็ว และกลายเป็นมหาอำนาจกำลังภายในของจีนมากว่าพันปี รวมทั้งยังเกิดสาขาของวัดเส้าหลินอีกนับสิบแห่งทั่วทุกมุมของโลก

ตามตำนานจีนโบราณ ศิลปะการต่อสู้และกังฟูเส้าหลิน มีต้นกำเนิดจากการที่หลวงจีนใช้วิชากังฟู ฝึกฝนร่างกายและออกกำลังกาย เพื่อเป็นการขจัดความเมื่อยล้าจากการนั่งสมาธิวิปัสนากรรมฐานเป็นเวลานาน

ต่อมาได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัดเส้าหลิน ชาวจีนเชื่อกันว่าผู้ที่คิดค้นสุดยอดวิชากังฟูคือตั๊กม้อ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามบันทึกบน "ถังไท่จงชื่อเส้าหลินซื่อจู่เจี้ยวเปย" แท่นหินสลักคำสอนหลักของวัดเส้าหลินระบุว่า หลวงจีน 13 องค์ ได้เข้าช่วยเหลือจักรพรรดิถังไท่จงหรือหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง ในระหว่างปี พ.ศ. 1161 - พ.ศ. 1450 ฝ่าวงล้อมในระหว่างการสู้รบกับทหารของราชวงศ์สุยตอนปลายจนได้รับชัยชนะ
ต่อมาถังไท่จงได้ทรงแต่งตั้งให้เฟิงถันจง หนึ่งในหลวงจีนที่ร่วมในการสู้รบให้ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพ พร้อมกับพระราชทานแท่นปักธงคู่และสิงโตหิน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณอารามหน้าวัดเส้าหลินจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมทั้งได้ทรงอนุญาตให้หลวงจีนเข้าร่วมฝึกซ้อมแบบทหารร่วมกับกองกำลังทหารในราชสำนัก รวมทั้งให้หลวงจีนสามารถฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และสามารถฉันเนื้อสัตว์ได้ จากการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จากทางราชสำนัก ทำให้วัดเส้าหลินได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศในสมัยซ่งหรือซ้อง

ในปี พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1822 วิชากังฟูเส้าหลินได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงขีดสุด จนถึงสมัยราชวงศ์ชิง ในปี พ.ศ. 2159 - พ.ศ. 2454 และในปี พ.ศ. 2270 หลังการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิงได้ประมาณ 5 ปี จากเหตุผลทางด้านการเมือง ราชสำนักได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการลดบทบาทของวัดเส้าหลินลง แม้ว่าหลวงจีนจะถูกห้ามไม่ให้ฝึกกังฟู แต่ยังคงมีการลักลอบแอบฝึกกังฟูกันอย่างลับ ๆ ทั้งในบริเวณวัดและตามสถานที่ต่าง ๆ ทำให้วิชากังฟูเส้าหลินไม่สูญหายไปตามกาลเวลา และได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

วัดเส้าหลินดั้งเดิมนั้นถูกจักรพรรดิหยงเจิ้ง ส่งกองทัพมากวาดล้างและเผาทำลาย แต่ถึงอย่างไรก็ตามกังฟูที่มีรากฐานมาจากวัดเส้าหลินแห่งแรกในเทือกเขาซงซาน มณฑลเหอหนาน ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศจีนและทั่วทุกแห่งในโลก ในส่วนที่ถูกเผาทำลาย ปัจจุบันมีการทำนุบำรุงบูรณะหลายต่อหลายครั้ง ตลอดระยะเวลา 1,500 ปี วัดเส้าหลินการถูกเผาครั้งยิ่งใหญ่จำนวน 3 ครั้งด้วยกัน และตั้งแต่ใน ปี พ.ศ. 2000 มีการปรับปรุงครั้งยิ่งใหญ่ รื้อบริเวณรอบ ๆ ที่ถูกไฟเผาไหม้ ปลูกต้นไม้ มีการสร้างอารามต่าง ๆ ขึ้นใหม่อีกครั้งอย่างสวยงามในปี พ.ศ. 2400

ปัจจุบันในประเทศจีนมีวัดเส้าหลินทั้งหมดสามแห่ง แห่งแรกตั้งอยู่บนเทือกเขาซงซาน มณฑลเหอนาน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนานิกายเซนและกังฟูเส้าหลิน แห่งที่สองตั้งอยู่ที่เทือกเขาผานซาน สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หงวน และแห่งที่สามตั้งอยู่ที่เทือกเขาจิ่วเหลียนซาน มณฑลฮกเกี้ยน เรียก "สำนักเสี้ยวลิ้มใต้"คู่กับ "สำนักเสี้ยวลิ้มเหนือ" ที่เทือกเขาซงซาน สำนักใหญ่ของวัดเส้าหลboแบ่งออกเป็น 2 สายหลัก ๆ คือสายพระบู๊ซึ่งเป็นสายของการการสืบทอดศิลปะการต่อสู้และกังฟูเส้าหลินของตั๊กม้อ และสายพระวินัยซึ่งเป็นสายที่เน้นการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพุทธศาสนาเป็นสำคัญ