วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลุมพินี ความรุนแรง ความลุ่มหลง…. ความเงียบแห่งจิตวิญญาณ

2011-07-07
สารคดี
ชิระ วิชัยสุทธิกุล
none
ความรุนแรง ความลุ่มหลง…. ความเงียบแห่งจิตวิญญาณ
มวยไทยเหมือนเหรียญสองด้าน คือความรุนแรง ในสังคมมืดหรือความงดงามทางศิลปะ ชีวิตเด็กกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาสัมผัสมวยไทยด้วยความลุ่มหลง ทะเยอทะยาน และจินตนาการบริสุทธิ์ ภายในจิตวิญญาณที่เงียบสงัดของพวกเขา
เรื่องราวยอดมวยไทยได้เริ่มต้นขึ้น ณ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ถิ่นกำเนิดของพุฒ ล้อเหล็ก ยอดมวยไทย ผู้เป็นตำนาน
ตลอดกาลของคนไทย สูศักดิ์ อดีตนักมวยเพื่อนร่วมรุ่นกับพุฒ ล้อเหล็ก ภายหลังจากไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพการชกมวย เขาจึงหาสิ่งทดแทนให้กับตนเองโดยตั้งค่ายมวยชื่อ “ศักดิ์นิรันดิ์รัตน์” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ช.ณ.พัทลุง” ซึ่งเป็นชื่อสกุลของภรรยาเขา
ค่ายมวยเล็กๆซึ่งอยู่ท่ามกลางสวนยางพารา ณ บ้านเกิดของเขาสูศักดิ์ตั้งความหวังที่จะสร้างยอดมวยไทยจากบ้านนอก เพื่อวันหนึ่งนักมวยของเขาจะได้มีโอกาสไต่อันดับขึ้นชกกับนักมวยจากค่ายใหญ่ๆในกรุงเทพฯ และความฝันอันยิ่งใหญ่คือเข็มขัดแชมป์เปี้ยนมวยไทย ณ เวทีลุมพินี ซึ่งนักมวยบ้านนอกของสูศักดิ์ จะมีใครสักเกี่คนที่จะไปถึงจุดหมายนั้น
สูศักดิ์ต้องแบกภาระอย่างหนักกับการต้องเลี้ยงดูเด็กๆที่ทยอยเข้าสู่ค่ายศักดิ์นิรันดิ์รัตน์ เด็กบางคนถูกพ่อแม่นำมาฝากให้เรียนมวย เพราะสุดจะทนกับความเกเรของลูกชาย เด็กบางคนมาเพราะใจรัก บางคนเป็นเด็กเร่ร่อนฐานะยากจน ติดยา ต้องคดีลักเล็กโขมยน้อย ชีวิตไร้จุดหมาย เขามาหาสูศักดิ์เพียงเพื่อหาที่พักพิง หรือบางคนมองมวยไทยเพียงแค่ทางเลือกสุดท้าย
พวกเขาถูกโชคชะตาพัดพาให้มาใช้ชีวิตร่วมกัน เกิดเป็นสังคมเล็กๆที่มีทั้งมิตรภาพและความขัดแย้ง โดยมีสูศักดิ์เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ ที่ค่ายมวยแห่งนี้จึงไม่ต่างอะไรกับโรงเรียนดัดสันดาน หรือสถานบำบัดทางจิต โดยมีความเข้มงวดและความเมตตาที่มีต่อเด็กๆของสูศักดิ์ เขาจึงเป็นเสมือนพ่อบุญธรรมของเด็กๆทุกคน
การเริ่มต้นชีวิตการเป็นนักมวยของเด็กๆไม่เป็นเพียงชีวิตที่เกิดใหม่ แต่พวกเขาได้มองเห็นความหวัง การชกมวยได้นำพวกเขาสู่ความฝัน ในความฝันของแต่ละคนแม้จะดูเล็กน้อยและไร้เดียงสาสำหรับใครบางคน แต่สำหรับพวกเขาแล้วมันยิ่งใหญ่เกินพอสำหรับชีวิตเล็กๆที่เริ่มต้นมาจากความว่างเปล่า
———————————————
ลุมพินี
DIRECTOR’S STATEMENT
มวยไทยไม่เป็นเพียงกีฬาประจำชาติไทยเท่านั้น แม่ไม้มวยไทยคือชีวิตของคนไทย ไม่ว่าโลกก้าวเข้าสู่ทศวรรษใดก็ตาม มวยไทยยังคงรักษาไว้ซึ่งแนวคิด แนวปฏิบัติแบบไทยแท้ดั้งเดิม
มวยไทยสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามเป็นเสมือนรากเหง้าของชาติกำเนิดและภูมิปัญญาแห่งความเป็นไทย
บนเส้นทางการเป็นนักมวยของแต่ละคน รวมไปถึงจุดหมายปลายทางของชีวิต มีทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เรื่องราวชีวิตเล็กๆของพวกเขาเป็นภาพสะท้อนแง่มุมความขัดแย้งต่างๆของสังคมและอาจจะเป็นภาพขยายให้เห็นคุณค่าและการตีความหมายสำหรับคำว่า “ยอดมวยไทย” ซึ่งมีอะไรหลายๆอย่างที่ถูกละเลยโดยคนไทยเอง เป็นการตั้งคำถามให้กับคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่กับวงการมวยไทยก็ตาม
สารคดีเรื่องนี้ทำขึ้นเพื่อคนไทยทุกคน และต้องการเพียงให้เด็กไทยที่กำลังเติบโตขึ้นมา ได้มองเห็นคุณค่าและมีความภาคภูมิใจกับสมบัติอันล้ำค่าที่พวกเขาทุกคนเป็นเจ้าของ
————————————-
สารคดี ลุมพินี
สารคดี ลุมพินี
สารคดี ลุมพินี
สารคดี ลุมพินี
สารคดี ลุมพินี
สารคดี ลุมพินี
————————————-
หนังในโครงการ Indie Spirit 2011
ลุมพินี และ Breakfast Lunch Dinner
ฉายพร้อมกัน 7 ก.ค. 2554 เรื่องละรอบต่อวัน ที่ SFW
ภาพยนตร์ในโครงการ Indy Spirit 2011 ประกอบไปด้วย
1. “ลุมพินี” – ภาพยนตร์สารคดีขนาดยาว ที่ตีแผ่ชีวิตของนักมวยเด็กทางภาคใต้ของประเทศไทย กำกับภาพยนตร์โดย ชิระ วิชัยสุทธิกุล ช่างภาพแฟชั่นและผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา “ลุมพินี” ใช้กีฬามวยเป็นจุดศูนย์กลางในการสะท้อนให้เห็นปัญหาองค์รวมของวงการมวยไทย ภาพยนตร์ใช้ระยะเวลาการผลิตร่วม 3 ปี โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุน Jan Vrijman Fund ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์ภาพยนตร์สารคดีอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์ นอกจากนี้ “ลุมพินี” ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์เดียวกัน และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Humanitarian Awards for Documentaries ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกง ครั้งที่ 35 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
2. “Breakfast Lunch Dinner” – ภาพยนตร์ร่วมทุนผลิต 3 ชาติขนาดยาวที่ประกอบไปด้วยภาพยนตร์สั้นที่โดดเด่น 3 เรื่อง กำกับภาพยนตร์โดยผู้กำกับภาพยนตร์หญิงทั้งหมด ประกอบไปด้วย อโนชา สุวิชากรพงศ์ (ประเทศไทย), Wang Jing (ประเทศจีน), และ Kaz Cai (ประเทศสิงคโปร์) “Breakfast Lunch Dinner” เป็นภาพสะท้อนชีวิต ทรรศนคติ และมุมมองเกี่ยวกับความรัก โดยต่างตอบคำถามซึ่งมีผลกระทบกับชีวิตอย่างเดียวกัน “Breakfast Lunch Dinner” ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์รอตเตอร์ดาม ประเทศเนเธอแลนด์ครั้งที่ผ่านมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น