วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มวยไทย การต่อสู้ที่คนทั้งโลกยกย่อง


         

"มวยไทย" เป็นศิลปการต่อสู้สุดยอดของโลก
ผมเชื่อว่า "เด็กไทย"ทุกคนมี"วิญญาน"มวยไทยสิงอยู่ เราสามารถ"ยกแข้งยกขา"ได้สูงถึงคอ ขณะที่"ฝรั่ง"พยายามแค่ไหนก็ยกขาได้แต่เอว
มวยไทยเป็น"ศิลปการต่อสู้"ชนิดเดียวในโลก ที่ใช"อวัยวะ"ทุกอย่างเป็น"อาวุธ" ทั้งมือ เท้า เข่า ศอก...กระทั่งหัว

น่าเสียดายนะครับ ที่วันนี้ เราไม่ค่อยเห็น"มวยไทย"เป็น"ศิลปการต่อสู้"
ที่สำคัญคือ"ขาดวัฒนธรรม"

ผมไปญี่ปุ่นเมื่อหลายปีก่อน
จำได้ว่าเป็นช่วงการแข่งขันซูโม่ประจำปี
ทุกมุมเมือง ผมเห็น"ชาวญี่ปุ่น"หายใจเข้าออกเป็น"ซูโม่" ร้านขายทีวี ร้านอาหาร สถานีรถไฟ มีคนยืนจ้อง"จอทีวี"ดูการถ่ายทอดสดการแข่งขันซูโม่แบบไม่กะพริบตา
การแข่งขันซูโม่ เป็น"พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์"ของญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่น"เคารพ"ตั้งแต่การแต่งตัว การสร้างเวที และทุกอย่างยังเป็น"ธรรมเนียมเดิม" ชนิดชุดแข่งขันก็เป็บแบบโบราณ กรรมการก็แต่งชุดโบราณ หรือเวทีก่อนการแข่งขัน ก็ยังมีพิธีกรรม"โรยเกลือ" ..เพื่อความศักดิ์สิทธิ์

ผมไม่แน่ใจว่า"ผู้เกี่ยวข้อง"กับมวยไทยคิดอย่างไร
เสียดายนะครับ..ฝรั่งมาและ"ดูมวยไทย" เพราะอยากชม"ศิลปไทย" ขณะที่คนไทยเดินเข้าเวทีมวยเพื่อ"เล่นการพนัน"
ผมเสียดายที่วันนี้เราไม่มี"มวยยคาดเชือก" ที่เป็น"ต้นฉบับมวยไทย" ทำให้เรา"ขาดความศักดิ์สิทธิ์"ของมวยไทย
ฝรั่ง ญี่ปุ่น พวกนี้"คลั่ง"มวยไทยในสถานะ"ศิลปการต่อสู้" ที่เป็น"สุดยอดของโลก" ขณะที่คนไทยเรากลุ่มหนึ่ง ก็เผยแพร่ศิลปนี้ไป และพยายามที่จะพัฒนาให้กลายเป็น"กีฬา" ..จนละเลยการเป็น"ศิลปมวยไทย"

เสียดายจริงๆครับ

"มวยไทย" เริ่มขึ้นในสมัยไหยไม่ปรากฏชัดเจน และไม่มีหนังสือเล่มไหนเขียนไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เชื่อว่า"มวยไทย"เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับ"ชาติไทย"ด้วยซ้ำ
เชื่อว่า ในสมัยอาณาจักรน่านเจ้า เมื่อ พ.ศ.1291 พระเจ้าพีล่อโก๊ะ ได้รวบรวมอาณาจักรไทยขึ้นเรียกว่า"อาณาจักรน่านเจ้า" และยังเป็นยุคที่ไทยต้องทำสงครามกับจีนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนอกจากอาวุธพวกหอก ง้าว บนหลังม้าแล้ว คนจึนต่อสู้ป้องกันตัวด้วยวิชาเจิ้ง (การต่อสู้แบบจีนชนิดหนึ่งคล้ายๆมวยจีน ) คนน่านเจ้าจึงเริ่มต่อสู้ด้วยมือเปล่า..และน่าจะเป็น"มวยไทยยุคแรก"

สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ.1781-1921)
การต่อสู้ด้วยมือเปล่าด้วยวิชามวยไทย มีใช้อยู่ แม้ส่วนใหญ่ยังใช้อาวุธชนิดต่างๆเพื่อการกอบกู้ประเทศชาติ สถานที่ที่เป็นสำนักประสิทธิ์ประสาทวิชามวยไทยในสมัยนั้น มีทั้ง วัด ที่มี"พระ"เป็นอาจารย์ มีบ้าน ที่พ่อเป็นผู้สั่งสอน หรือสำนักราชบัณฑิต ที่เรียนการต่อสู้หลากแขนง

สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310)
สมัยนี้ยังมีการถ่ายทอดวิชาการต่างๆ มาจากสมัยสุโขทัยกันอย่างต่อเนื่อง เช่น การล่าสัตว์ การคล้องช้าง การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆ และวัดยังคงเป็นสถานที่ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและฝึกความชำนาญในเชิงดาบ กระบี่กระบอง กริช มวยไทย ธนู เป็นต้น
พ. ศ .1901 - 2173 ชาวกรุงศรี นิยมเล่นกีฬากลางแจ้งกันมาก โดยเฉพาะการเล่นว่าว จนต้องออกกฏมณเฑียรบาล ห้ามประชาชนเล่นว่าวเหนือพระราชฐาน
พ.ศ .2174 - 2233 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กีฬาหลายอย่าง เช่น การแข่งเรือ การชกมวย
สมัยพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ชื่นชอบ"มวยไทย" และครั้งหนึ่งพระองค์เสด็จไปที่ตำบลราดรวด พร้อมมหาดเล็กอีก 4 คน แต่งกายแบบชาวบ้านนอกไปเที่ยวงานมหรสพ แล้วพระองค์ก็สมัครชกมวยมาจากอยุธยา จึงได้จัดนักมวยฝีมือดีจากเมือวิเศษไชยชาญเท่าที่มีอยู่ ซึ่งได้แก่นายกลางหมัดมวย นายใหญ่หมัดเหล็ก และนายเล็กหมัดหนักชกกับพระเจ้าเสือ พระองค์ชกชนะทั้ง 3 คนรวด
พระองค์ยังทรงฝึกฝนให้เจ้าฟ้าเพชร และเจ้าฟ้าพร พระราชโอรสให้สามารถในกระบี่กระบองและมวยปล้ำ รวมทั้งมวยไทยคาดเชือก
พ . ศ .2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก คนไทยถูกจับไปเป็นเชลยมาก และเมื่อไปถึงพม่า กรุงอังวะ ก็จัดมหาเจดีย์ใหญ่เพื่อฉลองชัยชนะ สุกี้พระนายกอง ได้คัดเลือกนายขนมต้มส่งไปชกมวยที่พม่าด้วย นายขนมต้ม ซึ่งได้ใช้วิชา มวยไทย ต่อสู้กับพม่าถึง 10 คน และพม่าได้แพ้นายขนมต้มหมดทุกคน
พระเจ้ากรุงอังวะ ตรัสชมเชยว่า คนไทยถึงแม้จะไม่มีอาวุธในมือ มีเพียงมือเปล่า 2 ข้าง ก็ยังมีพิษรอบตัว พร้อมมอบเงินและภรรยาให้ 2 คน เป็นรางวัลแก่นายขนมต้ม
นายขนมต้มจึงเปรียบเสมือนบิดาผู้สอนมวยไทย เพราะทำให้ไทยมีชื่อเสียงเกี่ยวกับบวิชามวยไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา



นายขนมต้ม-ภาพจินตนาการ

สมัยกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2314 พม่ายกมาตีเมืองเชียงใหม่ และได้ยกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย ( นายทองดี ฟันขาว) จึงนำทัพออกตะลุมบอนกับพม่าจนดาบทั้งสองหัก และป้องกันเมือไว้ได้ พระยาพิชัยเป็นผู้มีฝีมือในเรื่องการชกมวย กระบี่กระบอง และฝีมือในการรบ พระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) จึงได้ให้ไปครองเมืองพิชัย จากการต่อสู้ของพระยาพิชัยจนดาบหัก และสามารถป้องกันเมืองพิชัยไว้ได้นี้ประชาชนจึงเรียกว่าพระยาพิชัยดาบหัก
ในสมัยกรุงธนบุรีมีการเล่นกีฬามวยไทย กระบี่กระบอง แข่งเรือ ว่าว ตะกร้อ หมากรุก ชักคะเย่อ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 5 กษัตริย์ไทยทรงโปรดการกีฬามาก เช่น สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่4) โปรดให้ลูกยาเธอหลายพระองค์ หัดเล่นกระบี่กระบอง ส่วนใหญ่ประชาชนก็นิยมเล่นกีฬากันมาก โดยฝึกกันตามบ้านและสำหนักต่างๆ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ(รัชกาลที่5) ทรงแต่งตั้งผู้ที่มีฝีมือในทางกีฬาต่างๆ ให้เป็นหัวหน้าในการจัดกีฬา ให้มียศและตำแหน่งด้วย เช่น หมื่นมวยแม่หมัด ขุนชงัด ชิงชก เป็นผู้ดำเนินการจัดกีฬา
กีฬาไทยที่ได้รับการยกย่องส่งเสริมในสมัยนั้น ได้แก่
กีฬาว่าว จัดให้มีการแข่งขันว่าวชิงถ้วยพระราชทาน ทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ร่างระเบียบการแข่งขันว่าว และตราเป็นข้อบังคับ เรียก กติกาว่าว สนามหลวง พระองค์ยังดำริที่จะตั้งสมาคมกีฬาสยามขึ้น
กีฬากระบี่กระบอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักกระบี่กระบองที่มีความสามารถ พระองค์ได้ส่งเสริมให้มีการฝึกหัดและจัดแข่งขันกันอย่างกว้างขวาง
กีฬามวยไทย รัชกาลที่ 5 พระองค์มีความชำนาญในกีฬามวยไทยจึงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยขึ้นทั้งในชนบทและในกรุง
กรีฑานักเรียนและครู จัดครั้งแรกเมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 บริเวณท้องสนามหลวง

"มวยไทย" ใช้อวัยวะ 6 ชนิด ในการต่อสู้ ได้แก่ หมัด ศอก แขนท่อนล่างเท้า แข้ง และเข่า ด้วยการชก ต่อย เขก โขกทุบ เตะ ถีบ เหน็บ อัด ยัน เหยียบ เหวี่ยง ปัก ทิ่ม เฉือน กระทุ้ง สับ เสียบเฆี่ยน กด ทุ่ม ฟาด มัด รัด หักแขน หักขา หักคอ ฯลฯ
อวัยวะแต่ละชนิดดังกล่าวมีวิธีใช้ดังนี้
หมัดใช้ทิ่มกระแทก กระทุ้ง ซึ่งมีทั้งกระทุ้งขึ้นและกระทุ้งลง เหวี่ยง ซึ่งมีซึ่งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาวเขก โขก และทุบ
ศอกใช้เหวี่ยง ปัก งัด ทิ่ม เฉือน กด และกระทุ้ง
แขนท่อนล่าง ใช้สับ เสียบ ปัด เหวี่ยง และเฆี่ยน
เท้า ใช้ถีบ เหน็บ อัด คือการเตะด้วยปลายโต่ง ยัน เหยียบ เตะ และกระตุกเท้า
แข้งใช้เหวี่ยงซึ่งมีทั้งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาว
เข่าใช้ยิงโยน ยัด เหวี่ยง กุด และกระตุก


มารู้จัก"แม่ไม้มวยไทย" กันดีไหม?



สลับฟันปลา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและหลบหลีกอาวุธของคู่ต่อสู้



ปักษาแหวกรัง
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้เข้าปล้ำและกอดรัด



ชวาซัดหอก
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้และตอบโต้ด้วยศอก



อิเหนาแทงกริช
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยเข่า



ยกเขาพระสุเมรุ
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้งและตอบโต้ด้วยการจับทุ่ม



ตาเถรค้ำฟัก
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยการกระทุ้งหมัดขึ้น



มอญยันหลัก
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันคู่ต่อสู้จู่โจมด้วยการยกเท้ายันไว้



ปักลูกทอย
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันการเหวี่ยงแข้งของคู่ต่อสู้



จระเข้ฟาดหาง
เป็นไม้มวยใช้ตอบโต้ปรปักษ์ด้วยการเหวี่ยงแข้ง



หักงวงไอยรา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันการเหวี่ยงแข้งของคู่ต่อสู้ด้วยการจับขากด



บิดหางนาคา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันการถีบของคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยการจับเท้าบิด



วิรุฬหกกลับ
เป็นไม้มวยใช้ตอบโต้เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้ง



ดับชวาลา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดพร้อมตอบโต้



ขุนยักษ์จับลิง
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดของคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยการกอดคอ



หักคอเอราวัณ
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้เมื่อคู่ต่อสู้เข้าจับคอกอดปล้ำ



มณโฑนั่งแท่น
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ด้วยการนั่งและสับศอก



หนุมานถวายแหวน
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด



มุดบาดาล
เป็นไม้มวยป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้ก้าวทิ่มหมัดหลัง



ไต่เขาพระสุเมรุ
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้ง



เอราวัณเสยงา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด



เถรกวาดลาน
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้ง



ฝานลูกบวบ
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด



สับหัวมัจฉา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงหมัด



พระเจ้าตานั่งแท่น
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันเมื่อคู่ต่อสู้เตะต่ำระดับขา



สุครีพถอนต้นรัง
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้ง



กวางเหลียวหลัง
เป็นไม้มวยใช้ป้องกัน และตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด



บาทาลูบพักตร์
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด



ขะแมค้ำเสา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ด้วยการใช้สันมือยันคางคู่ต่อสู้



ทัดมาลา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้คู่ต่อสู้ด้วยการทิ่มศอก



พม่ารำขวาน
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยการกระโดดสับด้วยแขนท่อนล่าง

ข้อมูล-ภาพ หอมรดกไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น